Saturday, September 18, 2010

การวิเคราะห์ทางเทคนิคขั้นสุดท้าย.....by อ.แท๊กซี่นิรนาม สินธร-พันทิป

การวิเคราะห์ทางเทคนิคขั้นสุดท้าย

เผอิญเขียนตอบน้องคนหนึ่งเขาไว้ แล้วเห็นว่ามันอาจมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆมือใหม่ท่านอื่น จึงขอเขาแตกประเด็นมา

ที่ใช้คำว่าขั้นสุดท้าย จริงๆไม่มีอะไร เอิ๊กกก เคยเขียนขั้นกลางไว้แล้ว จะตั้งชื่อเป็น "ขั้นสูง" หรือ advance ก็เขินปาก เพราะมันไม่ใช่อ่ะครับ ประมาณว่ามันว่าถึงดินแดนที่ไม่เชิงเป็น technical analysis อีกแล้ว ถึงที่สุดแล้วมันกลายเป็นไร้สำนัก ไร้หลักวิชา มั่วๆไงพิกล กั่กๆๆๆๆ

ผมเขียนมาหลายทีแล้วว่าถ้าจะเล่นอินดี้ กรุณาเข้าใจปรัชญาพื้นฐานของอินดี้เสียก่อน สักแต่ไปเล่นมันโดยยึดมั่นถือมั่นจะโดนมันหลอก ลองไปอ่านคคห.56 ในกระทู้แนะนำดูครับ

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I7392523/I7392523.html

อินดี้มันไม่มีอะไรนอกจากเส้นที่คำนวณมาจาก market pattern เพราะฉะนั้นคนที่อ่าน pattern ขาดๆเขาจะมีเส้นอินดี้อยู่ในหัวของเขาเลยโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว เส้นอื่นๆที่จะใส่เพิ่มเข้าไปในกราฟจึงควรเป็นอะไรที่ให้มากกว่า price pattern ยิ่งให้ข้อมูลแย้งได้ยิ่งดี และสำคัญคือมันต้องไม่ให้ข้อมูลที่ซ้ำกัน (เคยเขียนเรื่อง Multicollinearity หรืออินดี้ตีกันเองไว้ในคคห.26 ทู้นี้ http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I7351716/I7351716.html )

ส่วนเรื่องที่น้องถามนั่นก็ไม่ใช่อะไรแปลกใหม่หรอกครับ คนเล่นเป็นเขารู้กันทั้งนั้น เพียงแต่จะเรียกมันอย่างไรก็เท่านั้นเอง

ถ้าจะให้อธิบาย ก็ต้องอธิบายไปถึงหลักการเทรดเลย มันยาวไป เอาสั้นๆเป็นว่า
การเทรดมันมี 3 อย่างใหญ่

1. directional trading หรือการเล่นกับทิศทางของตลาด ดักซื้อเมื่อตลาดมันเริ่มจะขึ้น รินขายเมื่อตลาดมันเริ่มจะลง ...ง่ายๆ เข้าใจนะ ตลาดแบบนี้เขาดูที่ trend อินดี้ไม่จำเป็นเท่าไหร่ ซี้ซั้วไปใช้โมเมนตัมมันก็เหมือนใช้เครื่องมือผิดวิธี เอาตะบวยไปหั่นผัก เอามีดไปตักน้ำ

2. swing trading หรือการโดดหนังยางอย่างที่น้องถามนั่นแหละ เราจะเล่นแบบนี้ก็ต่อเมื่อตลาดมันเข้าระยะ non-trend หรือไร้ทิศทาง ช่วงนี้คือช่วงที่อินดี้จะมีประโยชน์ถ้าใช้เป็น ...ย้ำว่า ถ้าใช้เป็น ใช้ไม่เป็นเดี๋ยวก็โดนมันต้มอีก

ดังนั้นอย่าไปดูแต่โมเมนตั้มมันอย่างเดียว ต้องเข้าใจด้วยว่าโมเมนตั้มมันเกิดจากอะไร ทำไมบางช่วงแรงซื้อแรงขายจึงผลักดันราคาหุ้นให้เปลี่ยนแปลงได้ ทำไมบางช่วงไม่ ต้องดู accumulation-distribution ด้วย เพราะหุ้นมันไม่ได้มีแต่มิติแนวตั้งหรือราคา แต่มันมีมิติแนวนอนหรือระยะเวลาด้วย ราคามันจะเปลี่ยนด้วยแรงซื้อขายได้มันต้องผ่านกระบวนการสะสม การกระจาย การผ่องถ่ายหุ้นด้วย คิดให้ขาด มองให้ทะลุเห็นถึงการถ่ายเทแลกเปลี่ยนกันของกระแสเงินและหุ้น ที่มันเป็นดุจดั่งสายน้ำแห่งความโลภและความกลัวที่จะไหลสลับทางกันจากที่สูงไปที่ต่ำเสมอ

3. volatility trading หรือการเล่นกับความผันผวน อยากให้ไปเสิร์ชหากระทู้ warrant ของคนที่ชื่อ Gantz แล้วทำความเข้าใจ Black–Scholes model จนเข้าใจถึงที่มาที่ไปและจุดอ่อนของมัน แล้วน้องก็จะเห็นถึงช่องทางหากินกับหุ้นบางจำพวก และวิธีที่จะเล่นกับความผันผวนโดยไม่สนทิศทาง

เล่นหุ้นมันเงินไม่ใช่น้อย ซี้ซั้วเล่นโดยไม่ศึกษาก่อนมันน่าเสียดายค่าวิชานะพี่ว่า ยิ่งบางคนเสียเงินไปฟรีๆโดยไม่ได้รู้อะไรเพิ่มเลย ...น่าเศร้า

ปรัชญาหลักแห่งการเทรดอย่างที่ทั่น Gantz ว่าไว้ก็สำคัญ พี่เอามาแต่งเติมเป็น 4 ห้องของหัวใจการเทรดหุ้น ขอก๊อบเอามาไว้ตรงนี้อีกที

1. trend and non-trend - อ่านทางขาด ชนะไปแล้วครึ่งนึง

2. accumulation and distribution - อ่านระยะเวลาแห่งการสะสมกำลังได้ขาด ชนะส่วนที่เหลือ

3. volatility - อ่านความผันผวนขาด ไม่กลัว noise ของตลาด คือปิดประตูแพ้

4. money and portfolio management - บริหารเงินและพอร์ตเป็น คือนอกจากเล่นหุ้นได้ตังค์แล้ว จะยังเล่นอย่างมีความสุขอีกด้วย

=============================================
ถ้าเราเข้าใจกลยุทธนี้เราจะเข้าใจว่าทำไมฝรั่งมันถึงซื้อๆขายๆอะไรของมันไม่รู้ เข้าใจแล้วเราก็อาจจะไม่บ้าตัวเลขซื้อขายของฝรั่งให้มันมากนักเหมือนเดิมอีก

กองทุนรายนี้มันใช้ strategy ซื้อหุ้นพลังงานพร้อมไปกับซื้อความผันผวนครับ ด้วยมันอ่านขาดว่าต่อจากนี้ไปราคาพลังงานของโลกใบนี้จะเข้าสู่ยุคแห่งความผันผวน

มันไม่สนครับว่าราคาพลังงานจะขึ้นหรือจะลง จะขึ้นหรือลงมันกินเรียบทั้ง 2 ขา

มันซื้อหุ้นมันก็กิน มันขายหุ้นมันก็กิน มัน long futures มันก็กิน มัน short มันก็กินครับ

การ long volatility ทำได้หลายวิธี วิธีพื้นๆคือทำ combined spread คือการวาง call กับ put พร้อมกัน แต่กองทุนมันทำ synthetic options ได้ โดยไม่ต้องเล่น options

เพราะปรัชญาพื้นฐานของหุ้นมีลักษณะร่วมอย่างนึงกับการ long options คือ

limited downside, unlimited upside ครับ

เขาย้ำตรงนี้หลายทีมาก

หุ้นนั้นอย่างไรราคามันก็ไม่มีทางต่ำกว่าศูนย์ แต่ในทางตรงข้ามเพดานราคามันมีที่ไหนล่ะครับ ...จริงป่าว

นี่คือความได้เปรียบของหุ้น เทียบง่ายๆ ดังนั้นการซื้อหุ้นก็เท่ากับการ long call นั่นเอง

แต่ทีนี้สมมุติเราจะทำ combined spread เพื่อ long volatile แบบกองทุน เราจะ long put อย่างไร?
เพราะการ short futures ถึงแม้จะ cover stock loss ได้ แต่ยังไงมันก็ไม่ได้มีค่าเท่ากับการ long put

ทำได้ครับ ...ด้วย calendar spread !!!

แค่เรา short ซีรี่ย์ใกล้พร้อมกับ long ซีรี่ย์ไกล (หรือจะสลับกันก็แล้วแต่ trade adjustment ของเรา) เราก็จะได้ synthetic put ขึ้นมา 1 ตัวแล้วครับ

มันจะต่างจากการ long put ของแท้หน่อยนึงก็ตรงมัน limit ทั้ง loss และ profit แต่เราปรับสัดส่วนเพื่อเลียนแบบการ long put จริงๆได้ครับ

ดังนั้นเราแทง 3 ขาด้วย set 50 portfolio, short futures แล้วก็ long futures อีกซีรีย์นึง เราก็จะได้ synthetic long straddle แบบเดียวกับที่กองทุน long volatile เลยครับ

แล้วทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับการปรับสัดส่วนของเงินที่ลงแต่ละขาใน fund ส่วนตัวของเราแล้ว ซึ่งถ้าเราทำเป็นแบบที่กองทุนทำ

ไม่ว่าจะซื้อ จะขายหุ้น จะ short หรือจะ long futures ...เรากินตลอดศกครับ

นี่คือสุดยอดวิชาของกองทุนครับ
===============================================
กราฟประจำวันครับ ดูกันเอง

เพราะหลังจากผมเข้าใจหลักการ hedging ตรงนี้ ผมรู้สึกเฉยๆกับ technical analysis แล้วครับ เกิดความคิดว่าทำไมเราต้องไปเหนื่อยกับ directional trading ตลอดเวลา ช่วงที่เราไม่มั่นใจหรือไม่มีเวลาตาม เราปล่อยให้เงินทำงานแทนเราบ้างก็ได้นี่ ช่วงไหน trend เข้าสุดๆ เราค่อยกินคำโต ช่วงไหนยังไซด์เวย์เราก็ long volatile ไว้ ....แบบมันมีทางเล่นได้ทุกทางอยู่แล้ว ไม่รู้สึกอะไรกับหุ้นตกอีกแล้ว ยิ่งตกยิ่งดี ยิ่งตกยิ่งมีช่องกำไร

...แล้วงี้จะไป technical analysis มันทำไมฟระ เปล่าประโยชน์... มันมีทางที่เล่นได้ง่าย ได้ชัวร์กว่าตั้งเยอะ แค่พริ้วไปตามตลาด คอย port adjust เป็นระยะๆ รอ rolling into synthetic call บ้างไม่ก็ flip spread ไปตามสถานการณ์มันก็ดักกินทุกประตูอยู่แล้ว ปิดทางขาดทุน

ถึงบอกไงว่านี่คือบทสุดท้ายของการวิเคราะห์ทางเทคนิค ...เพราะไม่ต้องวิเคราะห์มันอีกต่อไป ...เอิ๊กกกกก

No comments:

Post a Comment